วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 3 การแก้ปัญหาความขัดแย้ง

 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง  ปัญหาความขัดแย้งระหว่างครูกับนักเรียน ความขัดแย้งระหว่างครูกับผู้ปกครอง  ซึ้งมีกระทบต่อนักเรียนด้วยกันทั้งสิ้น การแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นในที่นี้จะเสนอ ๒ แนวทาง คือ
       การใช้หลักการประนีประนอม
       การจัดการกับความขัดแย้งโดยจำแนกตามพฤติกรรม
หลักการประนีประนอม (compromising)
มีหลักการในการแก้ปัญหาดังต่อไปนี้
 ๑  ต้องวิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยคนกลาง   เป็นคนที่ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง  ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง  ผู้บริหารโรงเรียน
๒  คนกลางหรือผู้ที่ช่วยคลี่คลายความขัดแย้งเป็นผู้พูดคุยกับทั้ง ๒ ฝ่ายถึงสาเหตุทีละฝ่ายเพื่อจะได้เรียนรู้ถึงความเหมือนและความแตกต่างของความคิดและความต้องการ และ เป้าหมายของแต่ละฝ่าย
๓  คนกลางจะพิจารณาข้อขัดแย้งเหล่านี้ และสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้น  โดยไม่ชั่งน้ำหนักไปว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด
๔ เมื่อทราบสาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งแล้วจึงจะเรียกบุคคลทั้ง ๒ ฝ่าย มาพูดคุยพร้อมกัน โดยคนกลางจะเป็นผู้พูดชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและผลที่จะได้รับเมื่อเกิดความขัดแย้ง
๕  ให้ทั้ง ๒ ฝ่ายได้ปรับความเข้าใจกันพูดถึงจุดประสงค์ ความต้องการของแต่ละฝ่ายและดำเนินการตัดสินความถูกต้องและความเป็นไปได้ในการตัดสิน  หรือ อาจจะเป็นการเจรจาต่อรอง  และสามารถตกลงกันได้โดยการพบกันครึ่งทาง  เพื่อให้ได้ข้อยุติของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเอง

การจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยจำแนกตามพฤติกรรม
การจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยจำแนกตามพฤติกรรมมีหลักสำคัญต่อไปนี
       การหลีกเลี่ยง (Avoidance)  เป็นการหลบเลี่ยงปัญหาพยายามให้ตนเองหนีไปจากเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาขัดแย้ง  โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้ามที่จะนำความขัดแย้งมาหาตนโดยอาจจะเปลี่ยนประเด็นการสนทนา วิธีนี้จะใช้ได้ในกรณีที่เป็นเรื่องไร้สาระ  และมีปัญหาอื่นๆ ที่รอแก้ไขอยู่ หรือการแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นส่งผลเสียมากกว่าผลดี  ยกตัวอย่างเช่น นักเรียน ๒ คนเกิดปัญหาความขัดแย้งในขณะที่โกรธ  กำลังโมโห ไม่สมควรที่จะรีบแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นทันที เพราะอารมณ์โกรธจะทำให้ความพยายามในการแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่เป็นผล
       การยอมให้ (Accommodation)เป็นวิธีการแก้ปัญหาโดยการยอมเสียสละความต้องการของตนเองเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามบรรลุความต้องการของตนเอง  ซึ่งทำให้บรรเทาความขัดแย้งได้ในเวลาอันรวดเร็ว ผู้ที่แสดงพฤติกรรมการยอมให้นอกจากจะเป็นผู้เสียสละแล้ว ยังเป็นผู้ที่ไม่ต้องการเกิดความบาดหมางในระหว่างบุคคล และคู่กรณีที่ได้รับประโยชน์เกิดความพึงพอใจและยุติข้อขัดแย้ง แต่อีกฝ่ายที่เสียประโยชน์ก็จะเก็บความรู้สึกดังกล่าวเก็บไว้ภายในจิตใจ ถ้าหากเจอเหตุการณ์ที่ขัดแย้งอีกก็จะนำเรื่องเก่ามาพูดถึงอีก   ซึ่งถือว่าจะเป็นการรักษาสัมพันธภาพในระยะยาว
        การเอาชนะ (Competition)  เป็นการใช้วิธีเอาแพ้เอาชนะอาจจะต้องทำลายอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองหวังไว้ วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งวิธีนี้ใช้ได้ผลเมื่อทั้ง๒ ฝ่ายมีความสัมพันธ์เกี่ยวกันเพียงเวลาสั้นๆและไม่มีความจำเป็นต้องรักษาสัมพันธภาพในระยะยาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องที่ 2 ความมีวินัยในหน้าที่

        วินัย หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อห้าม ที่บัญญัติไว้เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อความสงบเรียบร้อยดีงามทั้งของตนเองและหมู่คณะ  บุคคลที่มีว...