วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 3 ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย


ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ขนบธรรมเนียม หมายถึง สิ่งที่สังคมในประเทศไทยนิยมประพฤติปฏิบัติต่อเนื่องสืบกันมาเป็นเวลานาน จนยึดถือกันในจิตใจว่าต้องปฏิบัติเช่นนั้น จึงจะเกิดความสุขความเจริญ

ประเพณีไทย หมายถึง ทำกิจกรรมทางสังคมของประเทศไทยที่ถือปฎิบัติสืบต่อกันมา

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เป็นคำที่ใช้เรียกรวมกัน หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมยึดถือปฎิบัติสืบต่อๆกันมานาน มีคุณค่าทางชีวิต มักแฝงไปด้วยศีลธรรมจรรยา ความคิด ความเชื่อ เช่น การทีมารยาทไทย การปฎิบัติตนอย่างถูกกาลเทศะ รวมถึงการมีประเพณีต่างๆซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติไทย  ขนบธรรมเนียมแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่
     1.  ขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนบุคคลหรือประเพณีครอบครัว   เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโดยเฉพาะ เช่น ประเพณีการเกิด ประเพณีเกี่ยวกับการศึกษา ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีการตาย 
ประเพณีการเกิด
ประเพณีการศึกษา

 ประเพณีการบวช
ประเพณีการแต่งงาน
ประเพณีการตาย

     2.  ขนบธรรมเนียมประเพณีสังคม   เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ทุกคนในชาติต้องกระทำร่วมกัน เช่น วันสงกรานต์ วันลอยกระทง ถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ก่อให้เกิดความสะมพันธ์อันดีของคนในชาติ                                                                                                                                          
  ประเพณีวันสงกรานต์
 ประเพณีวันลอยกระทง

     3.  ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับศาสนา   เป็นธรรมเนียมประเพณีที่ปฎิบัติกันในวันสำคัญทางศาสนาโดยศาสนิกชนจะพร้อมใจกันไปร่วมงานที่วัดหรือศาสนสถานของศาสนานั้นๆถ้าเป็นพระพุทธ
ศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเช้าพรรษา วันออกพรรษา              
ประเพณีตักบาตรทำบุญ วันวิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา และวันพระ
ประเพณีตักบาตรเทโว วันออกพรรษา
                                                       ประเพณีเวียนเทียน วันเข้าพรรษา

     4.  ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับอาชีพ   เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับอาชีพท้องถิ่น เช่น ประเพณีแห่นางแมว ประเพณีสู่ขวัญข้าว ประเพณีบุญบั้งไฟ     

ประเพณีแห่นางแมว
ประเพณีสู่ขวัญข้าว
ประเพณีบุญบั้งไฟ

     5.  พระราชพิธี   เป็นงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งตามพระราชประเพณี โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปปฎิบัติพระราชกรณียกิจนั้นๆหรือโปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์ไปปฎิบัติแทนพระองค์ เช่น การถวายผ้าพระกฐินหลวง พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีฉัตรมงคล
 การถวายผ้าพระกฐินหลวง
พระราชพิธีวันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีฉัตรมงคล


     6.  รัฐพิธี   เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้กำหนดขึ้นเพื่อจัดเฉลิมฉลองงานระดับชาติ เช่น งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา งานถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์
งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา
งานถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องที่ 2 ความมีวินัยในหน้าที่

        วินัย หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อห้าม ที่บัญญัติไว้เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อความสงบเรียบร้อยดีงามทั้งของตนเองและหมู่คณะ  บุคคลที่มีว...