วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 2 การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม

  • สังคมไทย เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เพราะประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาิต ศาสนา และวัฒนธรรม การเรียนรู้ความแตกต่างเพื่อป้องกันความแตกแยก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนไทยพึงปฎิบัติ เพื่อพัฒนาชาติไทยให้เจริญก้าวหน้าและสงบสุข


  1. อัตลักษณ์ของสังคมพหุวัฒนธรรม อัตลักษณ์ คือสิ่งสะท้อนความเป็นตัวตนของบุคคลหรือสังคมนั้นๆ สังคมพหุวัฒนธรรมมีอัตลักษณ์สำคัญ คือ การอยู่ร่วมกันของผู้คนท่ามกลางความหลากหลายอย่างกลมกลืน ซึ่งความหลากหลายที่ปรากฎในสังคมพหุวัฒนธรรม ได้แก่
    1. เชื้อชาติ/ชาติพันธุ์
    2. ศาสนา/ความเชื่อ
    3. ภาษา
    4. วิถีการดำเนินชีวิต
    5. ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี จารีต

  • จากความหลากหลายข้างต้น ทำให้สังคมพหุวัฒนธรรมมีความยืดหยุ่นสูง และเกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน

  1. การเคารพและการยอมรับความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง สมาชิกในสังคมควรเปิดใจให้กว้าง เพื่อยอมรับความแตกต่างที่เกิดขึ้น และพยายามปรับตัวให้เข้ากับคนทุกเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม มีความระมัดระวังในการกระทำและคำพูด ที่อาจนำมาซึ่งความแตกแยกขัดแย้ง ตลอดจนเคารพในหน้าที่ สิทธิเสรีภาพของกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมไทย จึงควรยึดแนวทางปฎิบัติดังนี้
    1. เรียนรู้ความแตกต่าง
      1. เปิดใจให้กว้าง พร้อมรับสิ่งใหม่
      2. ศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา ภาษา ของชนกลุ่มอื่น ผ่านแหล่งความรู้ที่หลากหลาย และควรศึกษา ด้วยใจที่เป็นกลาง ปราศจากอคติ
      3. เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม หรือกิจกรรมที่มีคนจากหลายวัฒนธรรมมาทำกิจกรรมร่วมกัน
    2. ยึดมั่นในขันติธรรม
      1. มีความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง
      2. ปรับวิธีคิดและท่าทีให้เป็นกลาง สอดคล้องกับสภาพสังคมแห่งความหลากหลาย
      3. เคารพและให้เกียรติต่อความแตกต่างของเพื่อนร่วมสังคม โดยไม่เยาะเย้นถากถาง หรือลบหลู่ดูหมิ่น ความเป็นอัตลักษณ์ของกันและกัน
    3. คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน
      1. มีความยุติธรรม ไม่เลือกปฎิบัติหรือให้สิทธิพิเศษเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
      2. ไม่กระทำการที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ แก่เพื่อนร่วมสังคม
      3. ปฎิบัติตามหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพของตน โดยไม่ไปละเมิดหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องที่ 2 ความมีวินัยในหน้าที่

        วินัย หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อห้าม ที่บัญญัติไว้เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อความสงบเรียบร้อยดีงามทั้งของตนเองและหมู่คณะ  บุคคลที่มีว...