วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 2 การยึดมั่นในศาสนา

ศาสนา เป็น สถาบันหลักหนึ่งในสามของไทย คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยที่จะต้องยึดมั่
ปฏิบัติ ส่งเสริม และรักาาศาสนาไว้ให้คงอยู่คู่สังคมไทยอย่างยั่งยืนตลอดไป

การนับถือศาสนาในประเทสไทย

พระพุทธศาสนา 95%

อิสลาม 5%

อื่นๆ 1%

ศาสนาทุกศาสนาล้วนมีหลักธรรม คำสอน แนวความเชื่อและแนวการปฏิบัติต่างๆ ตามคติของแต่ละศาสนา เพื่อ ให้ผู้ปฏิบัติตามเกิดความเจริญในชีวิต     
การยึดมั่นในศาสนาจะทำให้ผู้คนอยู่กันอย่างสงบสุข

๑ คุณค่าและความสำคัญของการยึดมั่นในศาสนา
    
การยึดมั่นในสาสนา คือ การมีความรักความภูมิใจ ความศรัทธาในศาสนา
ที่ตนนับถือ รู้แก่นแท้ของสาสนาและยึดถือเป็นแนวทางในการประพฤติตน
เพื่อพร้อมที่จะดำรงไว้ซึ่งสถาบันศาสนาส่งเสริมและทำนุบำรุงให้ศาสนาเจริญสืบไป คุณค่าของการยึดมั่นในศาสนา มีดังนี้
    
 ๑. เป็นหลักยึดในการดำเนินชีวิต
 ๒. ทำให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เพราะทุกศาสนาล้วนมุ่งหวังให้ทุกคนเป็นคนดี
 ๓. เป็นบ่อเกิดแห่งศีลธรรมจรรยาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม

๔. การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการยึดมั่นในศาสนา
    ศาสนาทุกศาสนาล้วนสั่งสอนให้ทุกคนเป็นคนดี ศีลธรรม และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดังนั้นศาสนิกชนจึงควรปฏิบัติตเป็นแบบอย่างที่ดีในการยึดมั่นใน
ศาสนาของตน ดังนี้

การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

 ๑.นำหลักธรรมคำสอนทางศาสนาไปใช้ในการดำเนินชีวิต

  ๒.เป็นผู้ประพฤติดี ทางกาย วาจา ใจ และไม่เบียดเบียนผู้อื่น

 ๓. ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนาและบำพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม

 ๔. ให้การสงเคราะห์บำเพ็ญทาน ฃ่วยเหลือเพื่อมนุษย์ที่ด้อยโอกาส
 
๕. เฃ้าร่วมในศาสนาพิธีอย่างสม่ำเสมอและปฏิลัติ ได้อย่างถูกต้อง
   
 การปฏิบัติตนเป็นแบบที่ดีในการยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน การเข้าร่วมพิธีกรรมสำคัญทางศาสนา หรือการร่วมทำกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ก็จะทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องที่ 2 ความมีวินัยในหน้าที่

        วินัย หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อห้าม ที่บัญญัติไว้เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อความสงบเรียบร้อยดีงามทั้งของตนเองและหมู่คณะ  บุคคลที่มีว...