วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 2 ความมีวินัยในหน้าที่


        วินัย หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อห้าม ที่บัญญัติไว้เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อความสงบเรียบร้อยดีงามทั้งของตนเองและหมู่คณะ บุคคลที่มีวินัยเป็นนิสัยย่อมมีปกติรักการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับข้อห้าม ที่กำหนดไว้ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน สถาบันการศึกษา ตลอดจนตามที่สาธารณะต่างๆ รวมทั้งระเบียบปฏิบัติในลักษณะที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี กฏหมายปกครองท้องถิ่นและประเทศ ที่สำคัญคือผู้มีวินัยย่อมสามารถรักษาศีลได้บริสุทธิ์บริบูรณ์

        ความมีวินัยที่ต้องรีบฝึกให้เป็นนิสัย มีอยู่ 4 ประการ  คือ
        1.ความมีวินัยในการแสดงความเคารพ การรู้จักแสดงความเคารพอย่างถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ ย่อมเป็นเสน่ห์ประจำตัวอย่างหนึ่งของผู้ปฏิบัติ

ความมีวินัย นิสัยพื้นฐานที่จำเป็นต้องรีบฝึก การปลูกกฝังนิสัยด้วย 5 ห้องชีวิต ฉบับทางก้าวหน้า

        2.ความมีวินัยในการรักษาความสะอาด ความสะอาดในที่นี้หมายถถึง การรักษาความสะอาดทั้งร่างกาย เครื่องนุ่งห่มสิ่งของเครื่องใช้และสถานที่ ทั้งที่เป็นของตนเองและผู้อื่นตลอดจนสถานที่สาธารณะที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้อง การที่ผู้คนในสังคมฝึกนิสัยให้มีวินัยในการักษาความสะอาดดังกล่าวแล้วนอกจากจะทำให้ทั้งผู้คน สิ่งของ สถานที่ และสิ่งแวดล้อมสะอาด น่าดู เป็นที่เจริญตาเจริญใจแล้ว ยังเป็นการป้องกันมิให้เกิดการจับผิดกันขึ้นอีกด้วย
        3.ความมีวินัยในการรักษาความเป็นระเบียบ ความเป็นระเบียบในที่นี้หมายถึง ความมีระเบียบในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เกี่ยวกับ การเงิน การนอน การแต่งกาย การทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ ทั้งในบ้านและนอกบ้าน ได้แก่ การประกอบอาชีพหรือการศึกษาเล่าเรียน การจัดการเรื่องรายรับและรายจ่าย เรื่องการบริหารร่างกาย และการพักผ่อน เป็นต้น 
        ผู้ที่มีวินัยดีในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ย่อมสามารถวางแผนจัดระเบียบ ในการทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างลงตัว ทำให้ไม่มีปัญหาสับสนวุ่นวาย ย่อมมีอารมณ์ดี สุขภาพและใจของสมาชิกในครอบครัวทุกคนก็พลอยดีไปด้วย ยิ่งกว่านั้นยังอาจสามารถจัดแบ่งเวลาไว้สำหรับศึกษาและปฏิบัติธรรม เป็นกิจวัตรประจำวันได้อีกด้วย ซึ่งถ้าทำได้เช่นนี้ย่อมได้ชื่อว่า บรรลุวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ที่ว่า “เราเกิดมาสร้างบารมี” แล้วและถ้ามีวิริยะอุสาหะศึกษา และปฏิบัติธรรมมากขึ้นอีกก็จะเป็นการตอกย่ำ ตถาคตโพธิสัทธา ให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น

ความมีวินัย นิสัยพื้นฐานที่จำเป็นต้องรีบฝึก การปลูกกฝังนิสัยด้วย 5 ห้องชีวิต ฉบับทางก้าวหน้า

        4.ความีวินัยในการตรงต่อเวลา ความตรงต่อเวลาในที่นี้หมายถึง ความตรงต่อเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ทุกๆเรื่อง นับตั้งแต่เรื่องกิจวัตรประจำวันของเราเอง เช่น การกินอาหารแต่ละมื้อเป็นเวลา การเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาการออกจากบ้านไปทำงานหรือไปโรงเรียนและการกลับถึงบ้านเป็นเวลาเป็นต้น นอกจากนี้ก็เป็นเรื่องความตรงต่อเวลาในการทำภารกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เช่น การเข้าทำงาน และเลิกงานตรงเวลา การเข้าประชุมและเลิกงานตรงเวลา การเข้าประชุมและเลิกประชุมตรงเวลา การไปถึงที่นัดหมายตรงเวลา เป็นต้น
         ผู้ที่ปกติตรงต่อเวลาเป็นนิสัยก็เพราะมีความสำนึกรับผิดชอบ ต่อภารกิจหน้าที่ที่ตนจะต้องกระทำอย่างสูง ดังนั้นบุคคลประเภทนี้จึงมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง เป็นที่เคารพเชื่อถือไว้วงใจ จากผู้ร่วมงานเป็นอย่างดี และมักจะประสบความสำเร็จในอาชีพการงานของตนอีกด้วย
        ผู้ที่มีปกติตรงต่อเวลาเป็นนิสัยในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ของตนเอง ย่อมจะมีความตรงต่อเวลาในการทำกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นด้วย ยกเว้นกรณีที่มีเหตุขัดข้องเหลือวิสัยเท่านั้น ดังนั้น เด็กๆทุกคนควรได้รับการฝึกวินัยว่าด้วยความตรงต่อเวลา ในการทำกิจวัตรประจำวันของตนเองให้เกิดเป็นนิสัย เพื่อว่าเขาจะสามารถสร้างวินัยในเรื่องความตรงต่อเวลา เมื่อทำภารกิจต่างๆ นอกบ้านให้เป็นนิสัยด้วย

เรื่องที่ 1 ความมีวินัยในตนเอง

การมีวินัยในตนเอง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

  • ความมีวันียเกิดจากการเรียนรู้ และปฎิบัติตนให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของสังคม การสร้างความมีวินัยในตนเอง จึงควรเริ่มจากการทราบความสำคัญ ประโยชน์และลักษรธของผู้มีวินัย เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติที่ถูกต้อง

  1. ความสำคัญและประโยชน์ของการมีวินัยในตนเอง วินัย คือสิ่งที่เราต้องปฎิบัติทุกวันไม่ว่าจะชอบหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่างๆที่ตนเองและสังคมต้องการ ดังนั้น วินัยจึงมีความสำคัญและประโยชน์ ดังนี้

  1. ความสำคัญของวินัย
    1. เป็นเครื่องมือในการสร้างความสำเร็จในชีวิต
    2. เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม ให้เป็นระเบียบ ซึ่งช่วยให้ประเทศพัฒนาได้ง่ายและรวดเร็ว
    3. เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่ทำให้เกิดคุณธรรมข้ออื่นๆ

  1. ประโยชน์ของวินัย
    1. ทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข
    2. ทำให้สังคมและประเทศชาติสงบสุขและเจริญก้าวหน้า
    3. ทำให้มีผู้รักใคร่เอ็นดู คอยให้การสนับสนุน และให้ความเชื่อถือ ซึ่งจะนำพาสู่ความสำเร็จในทุกด้าน

  1. คุณลักษณะของผู้มีระเบียบวินัย บุคคลผู้ได้ชื่อว่ามีวินัยในตนเองนั้น จำเป็นต้องมีคุณลักษณะสำคัญในหลายด้าน ดังนี้


  1. ซื่อสัตย์สุจริต
    1. ตั้งใจทำหน้าที่การงานด้วยความทุ่มเท
    2. เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
    3. รักษาวาจาสัตย์
    4. จริงใจต่อบุคคลรอบข้าง
    5. ละอายต่อการกระทำชั่วทั้งปวง

  1. ขยันหมั่นเพียร
    1. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
    2. ช่วยเหลืองานครอบครัว
    3. ตั้งใจปฎิบัติหน้าที่ของตน
    4. ใช้เวลาว่างหาความรู้เพิ่มเติม
    5. ยึดหลักอิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิต

  1. อดทน
    1. ข่มใจจากกิเลส สิ่งยั่วยุทั้งหลาย
    2. ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ
    3. ใช้ปัญญาและเหตุผลในการแก้ปัญหา
    4. มองโลกในแง่ดี
    5. หลีกเลี่ยงและปฎิเสธให้เป็น

  1. ใฝ่หาความรู้
    1. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
    2. เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะความรู้
    3. ใช้เวลาว่างค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น อินเทอรืเนต สารคดี เป็นต้น
    4. รู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแยกแยะสิ่งที่ได้ดู อ่าน ฟัง หรือสัมผัสมา

  1. ตั้งใจปฎิบัติหน้าที่
    1. รู้จักวางแผนและแบ่งเวลาเป็น
    2. รับผิดชอบในสิ่งที่ทำให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง
    3. ขยัน รอบคอบ และอดทน
    4. ทุ่มเทให้กับสิ่งที่ทำ ไม่เถลไถล
    5. มองว่าอุปสรรคคือบทพิสูจน์ตัวตน ไม่ท้อถอยหรือยอมแพ้สิ่งใดง่ายๆ

  1. ยอมรับผลของการกระทำ
    1. ภูมิใจในผลงานที่ตนคิดว่าทำดีที่สุดแล้ว
    2. รับผิดชอบในสิ่งที่กระทำ
    3. ไม่ปฎิเสธความจริง และเหตุผล
    4. เปิดใจรับทุกคำแนะนำ หรือคำติชม
    5. นำประสบการณ์หรือความผิดพลาดมาใช้ปรับปรุงและพัฒนางานครั้งต่อไป

เรื่องที่ 3 การแก้ปัญหาความขัดแย้ง

 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง  ปัญหาความขัดแย้งระหว่างครูกับนักเรียน ความขัดแย้งระหว่างครูกับผู้ปกครอง  ซึ้งมีกระทบต่อนักเรียนด้วยกันทั้งสิ้น การแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นในที่นี้จะเสนอ ๒ แนวทาง คือ
       การใช้หลักการประนีประนอม
       การจัดการกับความขัดแย้งโดยจำแนกตามพฤติกรรม
หลักการประนีประนอม (compromising)
มีหลักการในการแก้ปัญหาดังต่อไปนี้
 ๑  ต้องวิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยคนกลาง   เป็นคนที่ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง  ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง  ผู้บริหารโรงเรียน
๒  คนกลางหรือผู้ที่ช่วยคลี่คลายความขัดแย้งเป็นผู้พูดคุยกับทั้ง ๒ ฝ่ายถึงสาเหตุทีละฝ่ายเพื่อจะได้เรียนรู้ถึงความเหมือนและความแตกต่างของความคิดและความต้องการ และ เป้าหมายของแต่ละฝ่าย
๓  คนกลางจะพิจารณาข้อขัดแย้งเหล่านี้ และสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้น  โดยไม่ชั่งน้ำหนักไปว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด
๔ เมื่อทราบสาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งแล้วจึงจะเรียกบุคคลทั้ง ๒ ฝ่าย มาพูดคุยพร้อมกัน โดยคนกลางจะเป็นผู้พูดชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและผลที่จะได้รับเมื่อเกิดความขัดแย้ง
๕  ให้ทั้ง ๒ ฝ่ายได้ปรับความเข้าใจกันพูดถึงจุดประสงค์ ความต้องการของแต่ละฝ่ายและดำเนินการตัดสินความถูกต้องและความเป็นไปได้ในการตัดสิน  หรือ อาจจะเป็นการเจรจาต่อรอง  และสามารถตกลงกันได้โดยการพบกันครึ่งทาง  เพื่อให้ได้ข้อยุติของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเอง

การจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยจำแนกตามพฤติกรรม
การจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยจำแนกตามพฤติกรรมมีหลักสำคัญต่อไปนี
       การหลีกเลี่ยง (Avoidance)  เป็นการหลบเลี่ยงปัญหาพยายามให้ตนเองหนีไปจากเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาขัดแย้ง  โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้ามที่จะนำความขัดแย้งมาหาตนโดยอาจจะเปลี่ยนประเด็นการสนทนา วิธีนี้จะใช้ได้ในกรณีที่เป็นเรื่องไร้สาระ  และมีปัญหาอื่นๆ ที่รอแก้ไขอยู่ หรือการแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นส่งผลเสียมากกว่าผลดี  ยกตัวอย่างเช่น นักเรียน ๒ คนเกิดปัญหาความขัดแย้งในขณะที่โกรธ  กำลังโมโห ไม่สมควรที่จะรีบแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นทันที เพราะอารมณ์โกรธจะทำให้ความพยายามในการแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่เป็นผล
       การยอมให้ (Accommodation)เป็นวิธีการแก้ปัญหาโดยการยอมเสียสละความต้องการของตนเองเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามบรรลุความต้องการของตนเอง  ซึ่งทำให้บรรเทาความขัดแย้งได้ในเวลาอันรวดเร็ว ผู้ที่แสดงพฤติกรรมการยอมให้นอกจากจะเป็นผู้เสียสละแล้ว ยังเป็นผู้ที่ไม่ต้องการเกิดความบาดหมางในระหว่างบุคคล และคู่กรณีที่ได้รับประโยชน์เกิดความพึงพอใจและยุติข้อขัดแย้ง แต่อีกฝ่ายที่เสียประโยชน์ก็จะเก็บความรู้สึกดังกล่าวเก็บไว้ภายในจิตใจ ถ้าหากเจอเหตุการณ์ที่ขัดแย้งอีกก็จะนำเรื่องเก่ามาพูดถึงอีก   ซึ่งถือว่าจะเป็นการรักษาสัมพันธภาพในระยะยาว
        การเอาชนะ (Competition)  เป็นการใช้วิธีเอาแพ้เอาชนะอาจจะต้องทำลายอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองหวังไว้ วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งวิธีนี้ใช้ได้ผลเมื่อทั้ง๒ ฝ่ายมีความสัมพันธ์เกี่ยวกันเพียงเวลาสั้นๆและไม่มีความจำเป็นต้องรักษาสัมพันธภาพในระยะยาว

เรื่องที่ 2 การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม

  • สังคมไทย เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เพราะประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาิต ศาสนา และวัฒนธรรม การเรียนรู้ความแตกต่างเพื่อป้องกันความแตกแยก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนไทยพึงปฎิบัติ เพื่อพัฒนาชาติไทยให้เจริญก้าวหน้าและสงบสุข


  1. อัตลักษณ์ของสังคมพหุวัฒนธรรม อัตลักษณ์ คือสิ่งสะท้อนความเป็นตัวตนของบุคคลหรือสังคมนั้นๆ สังคมพหุวัฒนธรรมมีอัตลักษณ์สำคัญ คือ การอยู่ร่วมกันของผู้คนท่ามกลางความหลากหลายอย่างกลมกลืน ซึ่งความหลากหลายที่ปรากฎในสังคมพหุวัฒนธรรม ได้แก่
    1. เชื้อชาติ/ชาติพันธุ์
    2. ศาสนา/ความเชื่อ
    3. ภาษา
    4. วิถีการดำเนินชีวิต
    5. ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี จารีต

  • จากความหลากหลายข้างต้น ทำให้สังคมพหุวัฒนธรรมมีความยืดหยุ่นสูง และเกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน

  1. การเคารพและการยอมรับความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง สมาชิกในสังคมควรเปิดใจให้กว้าง เพื่อยอมรับความแตกต่างที่เกิดขึ้น และพยายามปรับตัวให้เข้ากับคนทุกเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม มีความระมัดระวังในการกระทำและคำพูด ที่อาจนำมาซึ่งความแตกแยกขัดแย้ง ตลอดจนเคารพในหน้าที่ สิทธิเสรีภาพของกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมไทย จึงควรยึดแนวทางปฎิบัติดังนี้
    1. เรียนรู้ความแตกต่าง
      1. เปิดใจให้กว้าง พร้อมรับสิ่งใหม่
      2. ศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา ภาษา ของชนกลุ่มอื่น ผ่านแหล่งความรู้ที่หลากหลาย และควรศึกษา ด้วยใจที่เป็นกลาง ปราศจากอคติ
      3. เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม หรือกิจกรรมที่มีคนจากหลายวัฒนธรรมมาทำกิจกรรมร่วมกัน
    2. ยึดมั่นในขันติธรรม
      1. มีความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง
      2. ปรับวิธีคิดและท่าทีให้เป็นกลาง สอดคล้องกับสภาพสังคมแห่งความหลากหลาย
      3. เคารพและให้เกียรติต่อความแตกต่างของเพื่อนร่วมสังคม โดยไม่เยาะเย้นถากถาง หรือลบหลู่ดูหมิ่น ความเป็นอัตลักษณ์ของกันและกัน
    3. คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน
      1. มีความยุติธรรม ไม่เลือกปฎิบัติหรือให้สิทธิพิเศษเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
      2. ไม่กระทำการที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ แก่เพื่อนร่วมสังคม
      3. ปฎิบัติตามหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพของตน โดยไม่ไปละเมิดหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น

เรื่องที่ 1 ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมในภูมิภาคต่างๆของโลก

ทวีปเอเชีย (Asia)

ลักษณะด้านวัฒนธรรม
ภาษา
ทวีปเอเชียมีภาษาที่ใช้กันนับพันภาษาซึ่งจำแนกเป็น 8 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
กลุ่มภาษาตุรคิก ใช้กันทางภาคใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย
กลุ่มภาษาสลาวิกเป็นภาษาของชาวรัสเซียกลางและตะวันตกเฉียงใต้
กลุ่มภาษาตุงกูสิก ใช้กันทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน
กลุ่มภาษาจีน เป็นกลุ่มภาษาที่ประชากรส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียใช้พูดกัน และภาษาจีนกลุ่มอื่นๆซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันในประเทศจีน เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น
กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เป็นกลุ่มภาษาในเอเชียใต้
กลุ่มภาษาอิเรเนียน เป็นกลุ่มภาษาที่ใช้พูดกันแถบที่ราบสูงอิหร่าน
กลุ่มภาษาทิเบต-พม่า ได้แก่ภาษาทิเบต และภาษาของประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กลุ่มภาษามองโกล ได้แก่ภาษามองโกเลีย และภาษาที่ใช้กันในไซบีเรียของสหพันธรัฐรัสเซีย
          ปัจจุบันนี้ภาษาในทวีปเอเชียบางกลุ่มมีผู้ใช้มากขึ้นเช่นภาษาของจีน โดยเฉพาะภาษาแมนดาริน ขณะเดียวกันภาษาบางกลุ่มกลับมีจำนวนผู้ใช้น้อยลงเช่นกลุ่มภาษาตุงกูสิกที่ใช้กันทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ส่วนอินเดียมีภาษาถิ่นมากมายและเคยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเป็นเวลานาน รัฐบาลจึงให้ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฮินดีเป็นภาษาทางราชการ



ศาสนา
             ศาสนาที่สำคัญของโลกทุกศาสนาต่างเกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ซึ่งมีแหล่งกำเนิด ดังนี้
เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นต้นกำเนิดของศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และอิสลาม ศาสนายูดาย เป็นศาสนาเก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นต้นกำเนิดของ ศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลกขณะนี้ โดยได้เผยแผ่ไปสู่ยุโรป และซีกโลกตะวันตกอื่นๆและชาวยุโรปนำมาเผยแผ่สู่ทวีปเอเชียอีกครั้งหนึ่ง ศาสนาอิสลาม เกิดภายหลังศาสนาคริสต์ประมาณ 600 ปี เป็นศาสนาที่สำคัญของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ปัจจุบันศาสนานี้ยังได้เผยแผ่เข้าสู่ภาคเหนือของอินเดีย ดินแดนทางตอนเหนือของอ่าวเบงกอล คาบสมุทรมลายู และประเทศอินโดนีเซีย
 เอเชียใต้ เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู มีความเชื่อมาจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นศาสนาเก่าแก่ของโลกเมื่อประมาณ 5000ปี และเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวอินเดีย กระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ส่วน พระพุทธศาสนาเกิดก่อนศาสนาคริสต์ประมาณ 500 ปี และถึงแม้จะเกิดในอินเดีย แต่ก็มีชาวอินเดียนับถือพระพุทธศาสนาน้อย แต่มีผู้นับถือกันมากในทิเบต ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา
                เอเชียตะวันออก เป็นแหล่งกำเนิดของลัทธิขงจื้อ เต๋า และชินโต ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนได้เผยแผ่เข้าสู่จีน ก็ปรากฏว่า หลักธรรมของศาสนาพุทธสามารถผสมผสานเข้ากับคำสอนของขงจื้อได้ดี ส่วนในญี่ปุ่นพระพุทธศาสนายังมีปัญหากับปรัชญาและความคิดในศาสนาชินโตอยู่บ้าง

การศึกษา
ประชากรในทวีปอเมริกาเหนือมีอัตราการรู้หนังสือสูง โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ประชากรของประเทศในทวีปอเมริกาเหนือส่วนใหญ่อ่านออกและเขียนได้มากกว่าร้อยละ 80 ยกเว้นบางประเทศ เช่น ประเทศเอลซัลวาดอร์ ฮอนดูรัส นิการากัว กัวเตมาลา เฮติ

ลักษณะทางด้านสังคมโลกของทวีปเอเชีย
                การกระจายของประชากร ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ กล่าวคือ บริเวณที่ประชากรเบาบางเป็นบริเวณที่แห้งแล้ง และหนาวเย็นเกินไป เช่น ในไซบีเรียและภาคกลางของทวีปหรือเป็นบริเวณที่เป็นภูเขาสูงสลับสับซ้อน ได้แก่ เขตทะเลทรายในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ได้แก่ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรและตามลุ่มแม่น้ำต่างๆ เช่น ลุ่มแม่น้ำฮวงโหลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ลุ่มแม่น้ำคงคา ลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นต้น และในเกาะบางเกาะที่มีดินอุดมสมบรูณ์ เช่น เกาะของประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น เป็นต้น
             เชื้อชาติ ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรมากที่สุดประกอบด้วยหลายเชื้อชาติด้วยกัน ได้แก่ เชื้อสายมองโกลอยด์ แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ พวกมองโกลอยด์เหนือ เป็นประชากรส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย ได้แก่ ชาวทิเบต ชาวจีน ชาวญี่ปุ่น และชาวเกาหลี และพวกมองโกลอยด์ใต้ อยู่ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียได้แก่ ชาวไทย พม่า ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย รวมทั้งชนกลุ่มน้อยแถบภูเขาในประทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม และชนกลุ่มน้อยในหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เชื้อสายคอเคซอยด์ เป็นพวกผิวขาว หน้าตารูปร่างสูงใหญ่อย่างชาวยุโรปแต่ตาและผมมีสีดำ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และทางภาคเหนือของอินเดีย ได้แก่ ชาวอาหรับ ชาวปากีสถาน ชาวอินเดีย และประชากรในประเทศเนปาล และภูฏาน
             เชื้อสายนิกรอยด์ เป็นชาวเอเชียผิวดำ ได้แก่ ชาวพื้นเมืองทางภาคใต้ของอินเดีย (ดราวิเดียน) และชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในส่วนต่างๆของเอเชีย ได้แก่ พวกเงาะซาไก เซมังปาปวน ส่วนใหญ่พวกนี้มีรูปร่างค่อนข้างเล็ก ผมหยิก ได้แก่ประชากรที่อาศัยทางภาคใต้ของอินเดีย ในศรีลังกา ในคาบสมุทรมลายูและในหมู่เกาะต่างๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โลกภายใต้การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรม  กับการเกิดภูมิสังคมใหม่
ด้านเศรษฐกิจ
ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจเอเชียมีวิวัฒนาการที่ต่างจากยุโรป เพราะกำเนิดระบบทุนนิยมมาจากภายนอก มิได้มีวิวัฒนาการจากระบบภายในเองยกเว้นญี่ปุ่น ทำให้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงมีการคงสิ่งเก่าตกค้างไว้เป็นอันมากในช่วงเวลาที่ยาวนานดังปรากฏในกรณีของของจีนและไทย
ในระบบกึ่งทุนนิยมกึ่งศักดินา มีปัญหาพันธนาการดั้งเดิมที่ยังไม่ได้แก้ไขแม้เวลาล่วงเลยมานาน ทำให้ปัญหาที่ดิน ปัญหาชาวนาคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีการพัฒนาของชนชั้นกระฎุมพีจากภายใน ทำให้ขาดการปฏิวัติประชาธิปไตยจึงมีแรงกดดันในประเทศเหล่านี้ ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการปฏิวัติเช่นที่เกิดในประเทศจีน
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่พัฒนาสำเร็จเป็นทุนนิยมอุตสาหกรรม เพราะญี่ปุ่นมีรากฐานของการขยายตัวทางการค้า การศึกษา และพัฒนาการของอุตสาหกรรมพื้นบ้านมาตั้งแต่ก่อนเปิดประเทศ การแทรกแซงจากภายนอกจึงเป็นเพียงตัวกระตุ้นพัฒนาการทุนนิยมของญี่ปุ่นให้ก้าวกระโดดเร็วยิ่งขึ้น
เศรษฐกิจของอินเดีย ถูกครอบงำโดยภาคเกษตรล้าหลังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเศรษฐกิจทันสมัยได้ เนื่องจากอุปสรรคที่เกิดจากทั้งระบบปกครองที่อังกฤษนำมาใช้ และโครงสร้างพื้นฐานเดิมของสังคมชนบท ซึ่งผูกพันกับโครงสร้างทางสังคมแบบวรรณะและขาดชนชั้นกระฎุมพีที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทุนนิยม
ไทยอยู่ภายใต้ระบบศักดินา มาเป็นเวลาช้านาน มีแรงเกาะแน่นสูงระดับหมู่บ้าน มีการรวมศูนย์อำนาจกลไกรัฐ ขาดพ่อค้าอิสระพื้นเมือง ทำให้พัฒนาการสู่ทุนนิยมจากภายในต้องชะงักงัน ทุนนิยมที่ปรากฏในเศรษฐกิจไทยเป็นทุนนิยมต่างชาติที่ยังไม่มีพลังพอที่จะเปลี่ยนระบบศักดินาไทยได้อย่างสิ้นเชิง ระบบเศรษฐกิจการเมืองไทยจึงยังคงเป็นกึ่งศักดินากึ่งทุนนิยม


ทวีปแอฟริกา (Africa)

ลักษณะทางด้านวัฒนธรรม
          ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา บริเวณประเทศอียิปต์ปัจจุบัน เป็นแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งเริ่มต้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว ได้แก่ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมของชาวอียิปต์โบราณ ได้แก่ การชลประทาน ที่สามารถนำน้ำจากแม่น้ำไนล์มาใช้ในการเกษตร ทำให้สามารถเพระปลูกได้ปีละ2-3 ครั้ง การสร้างพีระมิด เป็นที่เก็บศพของนักปกครองและนักรบ การทำมัมมี่ ซึ่งสามารถเก็บรักษาศพมนุษย์ได้เป็นพันๆ ปี โดยไม่เน่าเปื่อย การสร้างสฟิงซ์ โดยแกะสลักหินเป็นรูปสิงโตหมอบมีหน้าเป็นคน แพะ และเหยี่ยวไว้เป็นสิ่งเคารพ การทำปฏิทิน โดยกำหนดให้มีปีละ 365 วัน และเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน การเขียน ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องราวต่างๆ ไว้ที่ฝาผนังที่ฝั่งศพ การเขียนสัญลักษณ์และรูปภาพแทนคำพูด ที่เรียกว่า อักษรไฮโรกลีฟิก การทำกระดาษ จากต้นพาไพรัส ซึ่งเป็นต้นกกชนิดหนึ่งในเขตลุ่มน้ำไนล์
          ต่อมาประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 12 พวกอาหรับซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้ขยายอำนาจจากเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และนำอารยธรรมมุสลิมเข้าสู่ทวีปแอฟริกาหลายอย่าง เช่น ศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับ สภาพความเป็นอยู่และการดำเนินชีวิต เป็นต้น ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 22วาสโก ดากามา (Vasco da Gama) ชาวโปรตุเกส ได้เกิดเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปเข้าสู่แอฟริกาตะวันออก และนับตั้งแต่นั้นมาการสำรวจทวีปแอฟริกาของชาวยุโรปก็ได้เริ่มขึ้นและชาวยุโรปได้ขยายอิทธิพลของตนเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ไว้เป็นอาณานิคม กระทั่งถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกาจึงได้รับเอกราชให้ปกครองตนเอง
             พวกผิวขาว ที่เป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของแอฟริกา ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของทวีป ได้แก่ พวกอาหรับและเบอร์เบอร์ ส่วนพวกผิวขาวกลุ่มใหม่ที่อพยพไปจากทวีปยุโรปนิยมตั้งถิ่นฐานในเขตอบอุ่นทางตอนใต้ของทวีป โดยเฉพาะในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ มีประมาณ 7 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีพวกผิวขาวจากปากีสถานและอินเดีย ซึ่งอพยพเข้าไปอาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกของทวีป

ภาษา
ในทวีปแอฟริกามีภาษาพูดอยู่ไม่น้อยกว่า 1,000 ภาษา ทั้งนี้เนื่องจากเป็นทวีปที่มีประชากรอยู่หลายเผ่าพันธุ์ แต่อาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม
1.กลุ่มภาษาเซมิติก ได้แก่ ภาษาอาหรับ เป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ในแอฟริกาเหนือ และบางส่วนในแอฟริกาตะวันออก ส่วนกลุ่มภาษาเซมิติกของชาวยุโรปเป็นภาษาของเจ้าอาณานิคมที่เข้ามาปกครอง เป็นภาษที่ใช้กันแพร่หลายเมื่อไม่นานมานี้ ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ และภาษาดัตช์
2.กลุ่มภาษาซูดาน เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา
3.กลุ่มภาษาบันตู เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคกลางและภาคตะวันออกของทวีป รวมทั้งบางประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ด้วย
4.กลุ่มภาษาเฮาซา เป็นกลุ่มภาษาทางการค้าของประชากรทางภาคตะวันตกของทวีป

ศาสนา
          ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกายังมีความเชื่อและปฏิบัติตามความเชื่อนั้นสืบต่อกันตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษมาหลายชั่วอายุคน เช่น เรื่องจิตวิญญาณ อำนาจของดวงดาว ภูเขา ต้นไม้ สิ่งมหัศจรรย์ เป็นต้น ส่วนศาสนาที่นับถือกันมาก ได้แก่ ศาสนาคริสต์ มีผู้นับถือมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลาม นอกจานี้ยังมีชาวอินเดียที่อพยพเข้ามาใหม่นับถือศาสนาฮินดูและศาสนายิงก็มีผู้นับถืออยู่บ้าง

ลักษณะทางด้านสังคมโลกของทวีปแอฟริกา
ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา บริเวณประเทศอียิปต์ปัจจุบัน เป็นแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งเริ่มต้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว ได้แก่ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมของชาวอียิปต์โบราณ ได้แก่ การชลประทาน ที่สามารถนำน้ำจากแม่น้ำไนล์มาใช้ในการเกษตร ทำให้สามารถเพระปลูกได้ปีละ2-3 ครั้ง การสร้างพีระมิด เป็นที่เก็บศพของนักปกครองและนักรบ การทำมัมมี่ ซึ่งสามารถเก็บรักษาศพมนุษย์ได้เป็นพันๆ ปี โดยไม่เน่าเปื่อย การสร้างสฟิงซ์ โดยแกะสลักหินเป็นรูปสิงโตหมอบมีหน้าเป็นคน แพะ และเหยี่ยวไว้เป็นสิ่งเคารพ การทำปฏิทิน โดยกำหนดให้มีปีละ 365 วัน และเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน การเขียน ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องราวต่างๆ ไว้ที่ฝาผนังที่ฝั่งศพ การเขียนสัญลักษณ์และรูปภาพแทนคำพูด ที่เรียกว่า อักษรไฮโรกลีฟิก การทำกระดาษ จากต้นพาไพรัส ซึ่งเป็นต้นกกชนิดหนึ่งในเขตลุ่มน้ำไนล์
ต่อมาประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 12 พวกอาหรับซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้ขยายอำนาจจากเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และนำอารยธรรมมุสลิมเข้าสู่ทวีปแอฟริกาหลายอย่าง เช่น ศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับ สภาพความเป็นอยู่และการดำเนินชีวิต เป็นต้น ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 22 วาสโก ดากามา (Vasco da Gama) ชาวโปรตุเกส ได้เกิดเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปเข้าสู่แอฟริกาตะวันออก และนับตั้งแต่นั้นมาการสำรวจทวีปแอฟริกาของชาวยุโรปก็ได้เริ่มขึ้นและชาวยุโรปได้ขยายอิทธิพลของตนเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ไว้เป็นอาณานิคม กระทั่งถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกาจึงได้รับเอกราชให้ปกครองตนเอง

ทวีปอเมริกาเหนือ (North America)

ลักษณะทางด้านวัฒนธรรม
ภาษา
ทวีปอเมริกาเหนือใช้ภาษาแตกต่างกัน ดังนี้
1.ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการในสหรัฐอเมริกา แคนาดา หมู่เกาะอินดิสตะวันตกที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เช่น จาเมกา โดมินิกา บาฮามาส บาร์เบโดส
2.ภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาราชของแคนาดา หมู่เกาะอินดิสตะวันตก เฮติ เซนต์ลูเซีย โดมินิกา
3.ภาษาสเปน เป็นภาษาราชการของเม็กซิโก และประเทศต่าง ๆ ในอเมริกากลาง รวมทั้งคิวบา และโดมินิกันในหมู่เกาะอินดิสตะวันตก
4.ภาษาอื่น ๆ เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยในทวีป ได้แก่ ภาษาเอสกิโม และภาษาอินเดียนแดง
ศาสนา
ประชากรนับถือคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์มากกว่านิกายโรมันคาทอลิก
ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนายิว ศาสนาอิสลาม พระพุทธศาสนา

ลักษณะทางด้านสังคมมโลกของทวีปอเมริกาเหนือ
ลักษณะทางด้านสังคม
    ลักษณะทางด้านสังคม จำแนกได้ดังนี้

1)  สังคมเมือง  เป็นสังคมของประเทศกลุ่มแองโกล-อเมริกาที่ร่ำรวย ประชากรมีมาตรฐานการครองชีพสูง มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสลาย เป็นสังคมอุตสาหกรรมและพาณิชย์กรรม ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ในเศรษฐกิจ 2 ประเภทนี้











2)  สังคมชนบท เป็นสังคมของประเทศกลุ่มลาตินอเมริกาที่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนส่วนใหญ่ ยากจนและมีรายได้น้อย นับถือประเพณีดั้งเดิมและสิ่งเร้นลับ













การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของอเมริกาเหนือ
การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมและวัฒนธรรมในทวีปอเมริกาเหนือ  สามารถสรุปโดยรวมรวมได้เป็น  2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มแองโกลอเมริกา  ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา  ทั้ง  2  เป็นประเทศใหญ่มีความเข้มแข็งทางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคมอย่างมากมาเป็นเวลานาน  โดยเฉพาะสังคมอเมริกันมีบทบาทสูงต่อการชี้นำกิจกรรมต่าง ๆ  ของโลกผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ต  โทรทัศน์  ภาพยนตร์  เพลง  กีฬา  แฟชั่น  สื่อมวลชน  อุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ  การที่ผู้คนย้ายถิ่นฐานเข้ามาตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก  ทำให้สังคมมีความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์สูงยิ่งขึ้น  เป็นสังคมที่ผู้คนพึ่งพาเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก  วัฒนธรรมมีความหลากหลายและมีการผสมผสาน  การพัฒนาความเจริญทางวัตถุเป็นไปอย่างรวดเร็ว  และด้วยเหตุที่มีประชากรมากและเป็นสังคมขนาดใหญ่  ประชากรบางส่วนมักจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ  ตามเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมดั้งเดิมของครอบครัวและอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
ประเทศในกลุ่มแองโกลอเมริกาจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุและเทคโนโลยีสูงอย่างไรก็ตาม  แม้ประเทศในกลุ่มแองโกลอเมริกาจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุและเทคโนโลยีสูง  เป็นประเทศที่มีความเจริญระดับแนวหน้าของโลก  แต่ก็มีปัญหาทีเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ  ปัญหาอาชญากรรม  การแพร่ระบาดของสิ่งเสพติด  การพนัน  คนจรจัด  การก่อการร้าย  พื้นที่เมืองมีการอยู่อาศัยอย่างแออัด  การจราจรติดขัด  เป็นต้น  โดยปัญหาการก่ออาชญกรรมในเขตเมืองใหญ่ของสหรัฐอเมริกา  เช่น  ชิคาโก  ลอสแอนเจลิส  มีเพิ่มสูงขึ้นทุกปี  ขณะเดียวกับผู้คนก็มีความเครียดสูงขึ้นตามไปด้วย
                     สำหรับสังคมของกลุ่มลาดินอเมริกามีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก  โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทไปสู่การเป็นสังคมเมืองมากขึ้น  พื้นที่เกษตรกรรมเต็มถูกเปลี่ยนแปลงไปใช้เป็นพื้นที่พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  ประชากรที่เคยทำอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตร  ได้เปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื้นมากขึ้น  เนื่องจากอาชีพเพาะปลูกมีผลผลิตและรายได้ไม่แน่นอน  ผู้คนที่มีฐานะยากจนเดินทางเข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อเป็นแรงงานมากขึ้น  เช่น  ในกรุงเม็กซิโกซิตีเมืองปวยบลา  กรุงกัวเตมาลาซิตี  เป็นต้น  ขณะที่ประชากรอีกส่วนหนึ่งในแถบลาตินอเมริกาก็พยามหาโอกาสเข้าไปทำงานในสหรัฐอเมริกาเพื่อหารายได้และโอกาสในชีวิตที่ดีกว่า  จึงมักเกิดปัญหาการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายขึ้นอยู่เสมอ
                    การเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่งในสังคมลาตินนอเมริกา  คือ  จำนวนประชากรที่เป็นชาวอินเดียนแท้หรืออเมรินเดียน  ซึ่งบรรพบุรุษเป็นเจ้าของที่ดินในทวีปอเมริกาเหนือ  มีจำนวนลดน้อยลงในแต่ละประเภท  และมีโอกาสกลายเป็นกลุ่มชนเล็ก  ๆ ของสังคม  เนื่องจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป  ทำให้ยากที่จะรักษารูปแบบการดำเนินชีวิตดั้งเดิมไว้ได้  โดยบุคคลรุ่นต่อ  ๆ  มาอาจจะเป็นเมสติโซหรือสายเลือดผสมอื่น  ๆ  มากขึ้น  รวมทั้งการขาดการศึกษาและการพัฒนาด้านต่าง  ๆ ชาวอเมริเดียนส่วนใหญ่จึงมีชีวิตที่ยากลำบาก












สำหรับสังคมและวัฒนธรรมของประเทศในแถบหมู่เกาะเวสต์อินดีส  ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชนผิวดำ  ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน  มีการศึกษาน้อย  พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย  มีทรัพยากรทางทะเลที่สมบูรณ์  แต่ขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐานและระบบสาธารณสุข  และช่องว่างทางสังคมระหว่างผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองกับชนบทมีมาก
                ทั้งนี้วัฒนธรรมเมริกันมีอิทธิพลต่อสังคมลาตินอเมริกาอย่างมากผ่านทางสื่อต่าง  ๆ โดยประชากรส่วนใหญ่จะมองแนวทางการดำเนินชีวิตของสังคมอเมริกันเป็นต้นแบบ  ขณะเดียวกันสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็ว  มีผลทำให้เกิดปัญหาทางสังคมขึ้นมากมายในประเทศต่าง  ๆ  ในอเมริกากลาง  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม  ความยากจน  อาชญากรรม  การแพร่ระบาดของสิ่งเสพติด  การค้ามนุษย์  รวมทั้งปัญหาสุขภาพอนามัยด้วย


ทวีปอเมริกาใต้ (South America)
ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
 ทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งอารยธรรมดั้งเดิมของชาวอินเดียนเผ่าอินคา เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ของประเทศเอกวาดอร์ เปรู โบลิเวียและทางตอนเหนือของประเทศชีลิในปัจจุบัน อาณาจักรนี้มีความเจริญสูงสุดประมาณตอนกลางของพุทธศตวรรษที่ 20 สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมของพวกอินคา ได้แก่ การนำหินมาปูถนน การทำสะพานแขวนด้วยเชือกเพื่อทอดข้ามลำธาร แม่น้ำและหุบเขาแคบๆ การสกัดหินภูเขาออกมาเป็นแท่งๆ เพื่อนำไปก่อสร้างที่อยู่อาศัย การปรับพื้นที่เนินเขาให้เป็นขั้นบันไดเพื่อใช้เพาะปลูกการขุดคลองเพื่อส่งน้ำเพื่อการเกษตร ใน พ.ศ.2075 อาณาจักรอินคาต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสเปน สเปนจึงมีอำนาจปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์นี้ การที่สเปนเข้ามามีอิทธิพลในทวีปอเมริกาใต้ ทำให้มีคำเล่าลือว่าทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทองคำ เงินและโลหะอื่นๆ ซึ่งเป็นดึงดูดใจให้ผู้คนในประเทศสเปนและโปรตุเกส พากันเดินทางเข้ามาแสวงโชคลาภในทวีปนี้มากขึ้น ดังนั้นทุกภูมิภาคในทวีปนอเมริกาใต้จึงตกเป็นอาณานิคมของสเปน ยกเว้นบราซิลเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ชาวอาณานิคมได้ต่อสู้จนได้รับเอกราช และได้สถาปนาเป็นประเทศเอกราชเกือบทั้งหมด ยกเว้นเฟรนซ์เกียนาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและเกาะฟอล์กแลนด์เป็นดินแดนในปกครองของอังกฤษ
ภาษา
ประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้ ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ ยกเว้นประเทศบราซิลใช้ภาษโปรตุเกส ประเทศกายอานา ใช้ภาษาอังกฤษ เฟรนซ์เกียนา ใช้ภาษาฝรั่งเศส และซูรินาเม ใช้ภาษาดัตช์


ศาสนา
ประชากรร้อยละ 90 ของทวีปอเมริกาใต้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ที่ชาวสเปนและโปรตุเกสเป็นผู้นำเข้ามาเผยแผ่ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์มีผู้นับถือน้อย

ลักษณะทางด้านสังคมโลกของทวีปอเมริกาใต้
        ทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งอารยธรรมดั้งเดิมของชาวอินเดียนเผ่าอินคา เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ของประเทศเอกวาดอร์ เปรู โบลิเวียและทางตอนเหนือของประเทศชีลิในปัจจุบัน อาณาจักรนี้มีความเจริญสูงสุดประมาณตอนกลางของพุทธศตวรรษที่ 20 สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมของพวกอินคา ได้แก่ การนำหินมาปูถนน การทำสะพานแขวนด้วยเชือกเพื่อทอดข้ามลำธาร แม่น้ำและหุบเขาแคบๆ การสกัดหินภูเขาออกมาเป็นแท่งๆ เพื่อนำไปก่อสร้างที่อยู่อาศัย การปรับพื้นที่เนินเขาให้เป็นขั้นบันไดเพื่อใช้เพาะปลูกการขุดคลองเพื่อส่งน้ำเพื่อการเกษตร ใน พ.ศ.2075 อาณาจักรอินคาต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสเปน สเปนจึงมีอำนาจปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์นี้ การที่สเปนเข้ามามีอิทธิพลในทวีปอเมริกาใต้ ทำให้มีคำเล่าลือว่าทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทองคำ เงินและโลหะอื่นๆ ซึ่งเป็นดึงดูดใจให้ผู้คนในประเทศสเปนและโปรตุเกส พากันเดินทางเข้ามาแสวงโชคลาภในทวีปนี้มากขึ้น ดังนั้นทุกภูมิภาคในทวีปนอเมริกาใต้จึงตกเป็นอาณานิคมของสเปน ยกเว้นบราซิลเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ชาวอาณานิคมได้ต่อสู้จนได้รับเอกราช และได้สถาปนาเป็นประเทศเอกราชเกือบทั้งหมด ยกเว้นเฟรนซ์เกียนาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและเกาะฟอล์กแลนด์เป็นดินแดนในปกครองของอังกฤษ

ทวีปยุโรป (Europe)

ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
ภาษา
ภาษาส่วนใหญ่จัดอยู่ในตระกูลภาษาอินโด - ยูโรเปียน เป็นต้นตระกูลที่มีผู้ใช้จำนวนมาก ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรโลก แบ่งออเป็นสาขาต่าง ๆ รวม 4 สาขา ดังนี้
สาขาเยอรมนิก ภาษาอังกฤษ ภาษาดัตช์ ภาษาเฟลมมิช ภาษาเยอรมัน และภาษาสแกนดิเนเวีย
สาขาภาษาโรมานซ์ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษาโรมาเนีย
สาขาภาษาบัลโต-สลาวิก ภาษาบัลแกเรีย ภาษาเช็ก ภาษาแลตเวีย ภาษาลิทัวเนีย ภาษารัสเซีย
สาขาอื่น ๆ ภาษาเคลติก ภาษากรีก

ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ แบ่งออกเป็น 3 นิกายใหญ่ ดังนี้
นิกายโรมันคาทอลิก นับถือมากบริเวณในยุโรปภาคใต้และภาคตะวันออก โดยมีสันตะปาปาแห่งนครวาติกัน รัฐอิสระในอิตาลี ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของศาสนจักร
นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ นับถือในคาบสมุทรบอลข่าน และรัสเซีย เน้นพิธีกรรมทางศาสนา
นิกายโปรเตสแตนท์ นับถือมากในยุโรปภาคเหนือและภาคตะวันตก นิกายนี้แบ่งออกเป็นนิกายย่อย ๆ จำนวนมาก ถือปฏิบัติตามพระคัมภีร์ไบเบิล เศรษฐกิจ


ลักษณะทางด้านสังคมโลกของทวีปยุโรป
ทวีปยุโรปใช้ที่ดินทำการเกษตรอย่างหนาแน่น ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์สูงมากเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่มีอากาศอบอุ่น ปริมาณฝนเพียงพอ เทคโนโลยีการเกษตรอันก้าวหน้า รวมทั้งมีตลาดและมาตรการรองรับ โดยเขตเกษตรกรรมของยุโรปแบ่งออกเป็น 5 เขต ได้แก่
                  เขตเกษตรกรรมแบบผสม เพาะปลูกควบคู่ไปกับการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ขนาดเล็ก ปลูกข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาเลย์ หัวผักกาดหวาน และเลี้ยงโคเนื้อ โคนม แกะ เขตภาคตะวันตกและภาคกลางของทวีป ในฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปน



                 เขตเกษตรกรรมแบบเมดิเตอร์เรเนียน ฝนตกน้อยและแสงแดดมาก พืชสำคัญคือ ส้ม องุ่น มะกอก ปลูกมากในเขตชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน เช่น อิตาลี กรีซ

                 เขตปลูกข้าวสาลี เขตภาคกลางของฮังการี โรมาเนีย ยูเครน และภาคใต้ของรัสเซีย
                 เขตทำไร่ปศุสัตว์ เลี้ยงวัว แพะ และแกะ เขตชายฝั่งทะเลแคริบเบียนในเขตใต้สุดของรัสเซีย


                 เขตเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน มีภูมิอากาศแบบทุนดราสัวต์เลี้ยงสำคัญคือ กวางเรนเดียร์ เขตชายฝั่งมหาสมุทร อาร์กติกตอนเหนือของทวีป ในประเทศฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์
                 การทำป่าไม้ ทำในเขตป่าไทกา ไม้สน ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อนสำหรับผลิตกระดาษ
                 การประมง ชายฝั่งของทวีปยุโรปยาวและเว้าแหว่งมาก เหมาะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และยังมีกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือไหลเลียบชายฝั่งประเทศฝรั่งเศส ขึ้นไปถึงชายฝั่งประเทศนอร์เวย์ ทำให้น้ำไม่เป็นน้ำแข็งในฤดูหนาว น่านน้ำของทวีปยุโรปจึงมีปลาอุดมสมบูรณ์ตลอดปี แหล่งประมงสำคัญได้แก่ น่านน้ำทะเลเหนือ เรียกว่า "ดอกเกอร์แบงก์" ทะเลนอร์วีเจียน และเกาะไอซ์แลนด์ ประเทศประมงชั้นนำ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์
                 แร่ที่สำคัญ  ได้แก่ ถ่านหิน ฝรั่งเศส เบลเยียม ลุ่มแม่น้ำรูห์ของเยอรมนี ภาคใต้ของโปแลนด์และรัสเซีย เหล็ก สวีเดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส และภาคใต้ของรัสเซีย น้ำมันปิโตรเลียม บริเวณทะเลเหนือ ตอนใต้ของรัสเซีย และยูเคน
                อุตสาหกรรม  ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม สวีเดน สืบเนื่องมาจาก ทุนมาก ทรัพยากรคุณภาพ การศึกษา เทคโนโลยี ไฟฟ้า การคมนาคมสะดวก อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ ถลุงเหล็ก ผลิตเหล็กกล้า ผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ผลิตเคมีภัณฑ์ ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องอิเลคทรอนิกส์

ทวีปออสเตรเลีย (Australia)


ภาษา
1.ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการทั้งออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
2.ภาษาเมารีก็ได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาราชการของนิวซีแลนด์ด้วยอีกภาษาหนึ่ง

ศาสนา
1.ชาวออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ นับถือศาสนาคริสต์ นิกาย โปรเตสแตนท์ โรมันคาทอลิก และแองกลิกัน
2.ชาวพื้นเมือง นับถือผีสางเทวดา

ลักษณะทางด้านสังคมโลกของทวีปออสเตรเลีย
ออสเตรเลียเป็นสังคมประชาธิปไตยที่มั่นคง มีแรงงานที่มีทักษะ และมีเศรษฐกิจ ที่แข็งแกร่ง พร้อมต่อการแข่งขัน ด้วยประชากรกว่า 20 ล้านคน ออสเตรเลียเป็นประเทศเดียวที่ครอบครองทวีปทั้งทวีป และเป็นประเทศที่มี พื้นที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลก สังคมพหุวัฒนธรรมของออสเตรเลียประกอบด้วย ชาวอะบอริจิน ชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส และผู้อพยพจากประมาณ 200 ประเทศทั่วโลก
ออสเตรเลียไม่เพียงแต่จะเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ แต่ยังส่งออกบริการ และสินค้าอุตสาหกรรมที่ทันสมัยอีกด้วย เศรษฐกิจของออสเตรเลีย มีลักษณะเปิดกว้างและใช้นวัตกรรม รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถเติบโตได้ในสภาวะที่การแข่งขันรุนแรง ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจออสเตรเลียมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบกับมีอัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง และกำลังการผลิตอันแข็งแกร่ง
รัฐบาลออสเตรเลียมุ่งมั่นสนับสนุนและส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้น โดยมีแผนปฏิบัติการ "สนับสนุนความสามารถของออสเตรเลีย - สร้างอนาคตของชาติผ่านวิทยาศาสตร์ และการประดิษฐ์คิดค้น"
สำหรับเศรษฐกิจในระดับโลก ทักษะทางภาษานับได้ว่าเป็นความได้เปรียบที่สำคัญของแรงงาน แม้ว่าออสเตรเลียจะเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่ประชากรมากกว่า 4.1 ล้านคนสามารถพูดภาษาที่สองได้ นักลงทุนในออสเตรเลีย จึงรู้สึกคุ้นเคยกับวัฒนธรรมการทำงานแบบตะวันตก และแรงงานที่สามารถทำงานได้ทั้ง ในบรรยากาศแบบตะวันตกและแบบเอเชีย ชาวออสเตรเลียมีทักษะในการใช้ภาษาต่างๆ ของเอเชียมากที่สุดในภูมิภาค ความพร้อมของทักษะทางภาษาและโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยช่วยดึงดูดบริษัทต่างประเทศกว่า 840 บริษัท ให้มาตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในออสเตรเลีย
ทักษะในการใช้ภาษาและคุณสมบัติอื่นๆ ที่ดึงดูดบริษัทต่างประเทศเป็นผลพวงส่วนหนึ่งของสังคมพหุวัฒนธรรมของออสเตรเลีย ในระยะเวลา 60 ปี ที่มีการวางแผนรับผู้อพยพ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีผู้ย้ายถิ่นฐานมาออสเตรเลียกว่า 6 ล้านคน รวมทั้ง ผู้ลี้ภัยกว่า 600,000 คน ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจาก 7 ล้านคน เป็น 20 ล้านคน
ความน่าประทับใจของสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของออสเตรเลีย ความร่ำรวยทาง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมพื้นเมือง ชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ตลอดจนอาหารและไวน์ที่ขึ้นชื่อ ทำให้ออสเตรเลียเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ทุกปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาออสเตรเลียมากกว่า 5 ล้านคน ส่งผลให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมบริการที่สร้างรายได้จากเงินตราต่างประเทศ มากที่สุด
สภาพแวดล้อมที่แตกต่างของออสเตรเลียทำให้มีพันธุ์ไม้พื้นเมือง สัตว์ และนกมากมาย หลายชนิดที่ไม่สามารถพบได้ในที่อื่นในโลก ออสเตรเลียเป็นประเทศที่จริงจังกับการอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติเหล่านี้ และได้ออกมาตรการมากมายเพื่อการดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการขึ้นทะเบียนมรดกโลก การกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่ามากมาย
ออสเตรเลียเป็นดินแดนที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และมีผู้คนอาศัยอยู่แล้วประมาณ 60,000 ปี ก่อนการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป ชนพื้นเมืองอะบอริจิน และชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปออสเตรเลีย ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของออสเตรเลียมีระยะเวลาค่อนข้างสั้น เริ่มต้นเมื่อมีการตั้งรกรากของชาวยุโรปจากสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2331
คุณภาพชีวิตของชาวออสเตรเลียจัดได้ว่าดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก สภาพแวดล้อมที่สะอาด บริการสาธารณสุข การศึกษา และวิถีชีวิตในออสเตรเลีย เมื่อประกอบกันแล้วทำให้ออสเตรเลียเป็นประเทศที่น่าอยู่ ประเพณีพื้นเมืองที่เก่าแก่และพหุวัฒนธรรมสะท้อนให้เห็นในวัฒนธรรมที่หลากหลายและความสามารถทางศิลปะหลายรูปแบบ
ออสเตรเลียมีระบบการศึกษาที่ได้รับการพัฒนาอย่างดี โดยมีอัตราการเข้าเรียนสูงที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยเฉลี่ยชาวออสเตรเลียได้รับการศึกษาในระดับประถมและมัธยม เป็นระยะเวลานานกว่านักเรียนในหลายๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี และ สหราชอาณาจักร ในแต่ละปี มีนักศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาศึกษาต่อในออสเตรเลียเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติปัจจุบัน ออสเตรเลียจัดอยู่ในอันดับ 3 ของแหล่งการศึกษาที่ใช้ภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมสูงสุด
ออสเตรเลียมีการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มั่นคง เป็นผู้บุกเบิกสิทธิการออกเสียงเลือกตั้งของผู้หญิงและการลงคะแนนลับ ระบอบการปกครองของออสเตรเลียเป็นการผสมผสานของประชาธิปไตยเสรีนิยมของสหราชอาณาจักรและอเมริกาเหนือ แต่ยังคงลักษณะเฉพาะตัวในแบบของออสเตรเลีย
การมีกองทัพที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมีความสำคัญต่อความมั่นคงของออสเตรเลีย และออสเตรเลียได้ร่วมมือกับประเทศอื่นๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก รัฐบาลมีเจตนาที่ชัดเจนในการให้การสนับสนุนงบประมาณ เพื่อการป้องกันประเทศ และขณะที่กองทัพออสเตรเลียมุ่งมั่นต่อการรักษาความมั่นคงของโลกในภาพรวม ก็ยังให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นอันดับแรก

เรื่องที่ 2 ความมีวินัยในหน้าที่

        วินัย หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อห้าม ที่บัญญัติไว้เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อความสงบเรียบร้อยดีงามทั้งของตนเองและหมู่คณะ  บุคคลที่มีว...